เริ่มต้นใช้งาน POS ใน Tablet

เมื่อสมัครสมาชิก และลงโปรแกรมระบบ POS เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มใช้งานได้เลย ตามขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดโปรแกรม  Application POS Step ขึ้นมา แล้วเข้าสู่ระบบ (โดยข้อมูลการเข้าระบบ จะถูกส่งไปในอีเมล์ในขั้นตอนการสมัครสมาชิก)
    blank
  2. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อย จะพบรายการให้เลือกเครื่อง POS ที่จะเข้าใช้งาน (สำหรับจำนวน POS จะมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแพ็คเก็จที่ลูกค้าเลือก สามารถดูรายละเอียดแพ็คเก็จได้ที่นี่)
    – กดเลือก เครื่อง POS จากนั้น กดปุ่ม “ต่อไป” เพื่อเข้าใช้งาน
    blank
  3. การเข้าระบบครั้งแรก จะมีข้อความแจ้ง แนะนำให้เปิดร้านก่อน ให้
    – กด “ตกลง” เพื่อเข้าไปที่หน้าเปิด/ร้าน เพื่อเริ่มต้นเปิดร้านและรับออเดอร์
    blank

 

เริ่มต้นใช้งาน POS ใน Mobile

เมื่อสมัครสมาชิก และลงโปรแกรมระบบ POS เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มใช้งานได้เลย ตามขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดโปรแกรม  Application POS Step ขึ้นมา แล้วเข้าสู่ระบบ (โดยข้อมูลการเข้าระบบ จะถูกส่งไปในอีเมล์ในขั้นตอนการสมัครสมาชิก)
    blank
  2. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อย จะพบรายการให้เลือกเครื่อง POS ที่จะเข้าใช้งาน (สำหรับจำนวน POS จะมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแพ็คเก็จที่ลูกค้าเลือก สามารถดูรายละเอียดแพ็คเก็จได้ที่นี่)
    – กดเลือก เครื่อง POS จากนั้น กดปุ่ม “ต่อไป” เพื่อเข้าใช้งาน
    blank
  3. การเข้าระบบครั้งแรก จะมีข้อความแจ้ง แนะนำให้เปิดร้านก่อน ให้
    – กด “ตกลง” เพื่อเข้าไปที่หน้าเปิด/ร้าน เพื่อเริ่มต้นเปิดร้านและรับออเดอร์
    blank

 

ตั้งค่า โต๊ะ

ตั้งค่า โต๊ะ สำหรับร้านที่มีบริการโต๊ะให้นั่งทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม สามารถกำหนด ชื่อโต๊ะ ภายในร้าน ในขั้นตอนการสั่งอาหาร แคชเชียร์ จะสามารถเลือกกำหนดได้ว่า รายการอาหารนั้น เป็นรายการของโต๊ะไหน เพื่อที่จะได้นำไปเสริร์ฟได้ถูกต้อง จัดการรายการโต๊ะในร้าน การจัดการรายการโต๊ะภายในร้าน สามารถเข้าไปที่เมนู “การตั้งค่า” หลังจากนั้นเลือกเมนูย่อย “โต๊ะ” จะมีรายการชื่อสาขาของร้านแสดงขึ้นมา หากต้องการจัดการ เพิ่ม แก้ไข รายการโต๊ะของสาขาไหน ให้คลิกที่ “แก้ไข” เพื่อเข้าไปจัดการเพิ่มเติม และแก้ไขได้ เพิ่มรายการโต๊ะ หากต้องการกำหนดชื่อโต๊ะ หรือรายการโต๊ะ ให้กดที่ไอคอน + เพิ่มโต๊ะของสาขา ตั้งชื่อโต๊ะ ถ้าต้องการตั้งชื่อโต๊ะ เป็นตัวเลข หมายเลขโต๊ะหมายเลขต้น ๆ ให้ตั้งชื่อเป็น โต๊ะ 01 , โต๊ะ 02 เพื่อที่จะสามารถเรียงลำดับได้ถูกต้องเวลาแสดงผลใน Application เมนูอื่น ๆ เกี่ยวกับการตั้งค่าของร้าน ตั้งค่า ร้าน / บริษัท ตั้งค่า…

ตั้งค่า เครื่องปริ้นครัว

ตั้งค่า เครื่องปริ้นครัว สำหรับร้านที่ต้องการปริ้นรายการเมนูอาหารที่สั่งเข้าครัว ซึ่งบางร้านอาจจะมีหลายครัว ก็สามารถกำหนดได้ว่า รายการอาหารในหมวดไหน ต้องการปริ้นออกที่ครัวใดบ้าง เมื่อทางหน้าร้านทำการสั่งเมนูอาหาร หลังจากนั้นกดปริ้นออเดอร์ รายการเมนูอาหารนั้น จะไปปริ้นออกที่ครัวที่กำหนดไว้

เพิ่มเครื่องปริ้นครัว
หากต้องการเพิ่มเครื่องปริ้นครัว หรือกำหนเครื่องปริ้นครัว สามารถกดเพิ่มได้ที่ไอคอน + เพิ่มเครื่องปริ้นครัวblank

กำหนดค่าปริ้นครัว
กำหนดชื่อปริ้นครัว เช่น ครัวร้อน ครัวเย็น บาร์ ฯลฯ จากนั้นระบุว่าต้องการให้รายการสินค้าในหมวดหมู่ปริ้นออกไปที่ครัวนั้นบ้าง เมื่อกำหนดข้อมูลครบแล้ว กด “บันทึก

blank

เมนูอื่น ๆ เกี่ยวกับการตั้งค่าของร้าน

จัดการ รายการสินค้า

เมนูการจัดการ รายการสินค้า เป็นเมนูสำหรับให้ร้านค้า เพิ่ม แก้ไข จัดการรายการสินค้าที่จะขายในร้านค้าได้ คลิกเมนู “สินค้า” เพื่อเปิดเมนูย่อยด้านใน คลิกที่เมนูย่อย “รายการสินค้า“ หากต้องการเพิ่มรายการสินค้าใหม่ หรือ เมนูอาหารใหม่ ให้คลิกที่ไอคอน + เพิ่มรายการสินค้า เพิ่มรายการสินค้าใหม่ (เพิ่มเมนูอาหาร) การกำหนด รายละเอียดสินค้า ชื่อสินค้า เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ไม่ควรยาวเกินไป รูปสินค้า เป็นรูปสินค้า หรือรูปเมนูอาหาร รหัสสินค้า ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ หมวดหมู่สินค้า ระบุหมวดหมู่สินค้าว่าอยู่ในหมวดหมู่ไหน พร้อมขาย เป็นการกำหนดว่าสินค้านี้พร้อมนำไปขายแล้วหรือไม่ ถ้าเลือกว่าพร้อมขาย รายการนี้จะไปแสดงที่หน้า Application ขายหน้าร้าน ให้ส่วนลด เป็นการกดหนดว่าสินค้านี้ยอมให้ส่วนดได้หรือไม่ หากมีการระบุส่วนลดในการขาย ราคาขาย กำหนดว่า ราคา (รวมภาษี) หรือไม่ การกำหนดราคาจะสามารถกำหนดได้สองแบบคือ มีราคาเดียว หรือมีหลายราคา ตัวอย่างการกำหนดสินค้าที่มีราคาเดียว ตัวอย่างการกำหนดสินค้าที่มีหลายราคา ตัวเลือกเพิ่ม เป็นการกำหนดตัวเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติมสำหรับเมนูอาหาร ที่มีให้เลือกได้หลากหลายรูปแบบ…

จัดการ หมวดหมู่สินค้า

การจัดการหมวดหมู่สินค้า เป็นเมนูการเพิ่มหมวดหมู่สินค้า เพื่อจัดระบบรายการสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดที่ที่กำหนดนี้ จะไปแสดงที่หน้าระบบขายหน้าร้าน บน Application  สำหรับการขายสินค้าด้วย

  • คลิกเมนู “สินค้า” เพื่อเปิดเมนูย่อยด้านใน
  • คลิกที่เมนูย่อย “หมวดหมู่สินค้า
  • หากต้องการเพิ่มหมวดหมู่สินค้า ให้กด ปุ่ม “เพิ่มหมวดหมู่สินค้า
  • ข้อมูลหมวดหมู่สินค้าที่ต้องเพิ่ม มีดังนี้
    • ชื่อหมวดหมู่
    • ภายใต้หมวดหมู่ (เป็นการกำหนดว่าหมวดหมู่นั้นจะเป็นหมวดหลัก หรือเป็นหมวดย่อยภายใต้หมวดหลักอะไร) โดยสามารถเพิ่มหมวดหมู่หลักและหมวดหมู่ย่อย ๆ ได้ (คำแนะนำ ไม่ควรเพิ่มหมวดย่อยเกินสาม Level)
    • การจัดเรียง โดยสามารถกำหนดว่า หมวดหมู่ดังกล่าวจะให้เรียงอยู่อันดับไหนของหมวดอื่น ๆ ที่เราสร้างขึ้น
  • เมื่อกำหนดเสร็จ สามารถกด “บันทึก” เพื่อสร้างหมวดหมู่สินค้าได้เลย
    blank

เมนูการจัดการสินค้า

 

 

จัดการเมนู สินค้า

เมนูสินค้า เป็นระบบจัดการสร้างเมนูสินค้า หรือเมนูอาหาร พร้อมทั้งสามารถจัดการหมวดหมู่สินค้าของร้านค้าได้ โดย

  • คลิกเมนู “สินค้า” เพื่อเปิดเมนูย่อยด้านใน ซึ่งจะมีเมนูสำหรับการจัดการสินค้า ดังนี้
  • กำหนด “หมวดหมู่สินค้า”
  • จัดการรายการสินค้า เพิ่ม/แก้ ไข “รายการสินค้า”
    blank

เมนูการจัดการสินค้า

 

 

ข้อมูล พนักงาน

การจัดการข้อมูลพนักงาน สามารถกำหนด และจัดการการใช้งานของพนักงานแต่ละคน หรือจำกัดสิทธิ์การเข้าระบบได้ โดยจำนวนพนักงาน ระบบจะสร้างเริ่มต้นให้ก่อน ตามจำนวน ขึ้นอยู่กับแพ็คเก็จที่เลือกใช้งาน

โดยเจ้าของร้าน สามารถมาตั้งค่า และแก้ไขข้อมูลพนักงานใหม่ได้ ตามขั้นตอนดังนี้

  • คลิกเมนู “พนักงาน” เพื่อเปิดเมนูย่อยสำหรับการตั้งค่าผู้ใช้งาน
  • กด “แก้ไข” เพื่อแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้งาน
    blank

สามารถแก้ไขข้อมูลพนักงานได้ ดังนี้

  • รูปภาพ
  • ชื่อ – นามสกุล
  • ชื่อผู้ใช้งาน (สำหรับเข้าระบบหลังบ้าน)
  • รหัสพนักงาน หรือ PIN สำหรับเข้าระบบขายหน้าร้านบน Application (หรือสำหรับ แคชเชียร์)
  • รหัสผ่าน (Password) สำหรับเข้าระบบหลังบ้าน
    blank